วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

2. ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)

⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭⧭



ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ
(Natural Unfoldment)

Dr. During. (2553). ได้รวบรวมข้อมูลไว้ว่า นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือรุสโซ (Rousseau) ฟรอเบล (Froebel) และเพสตาลอสซี (Pestalozzi) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อดังนี้
........ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
........1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good - active)
........2.ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
........3.รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
........4.รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย
........5.เพสตาลอสซีมีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคม คล้อยตามสังคม และคนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะ ดังกล่าว
........6.เพสตาลอสซีเชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
........7.ฟรอเบลเชื่อว่าควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
........8.ฟรอเบลเชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก
ที่มา: Dr. During. (2553). http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html?m=1. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561


สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2545:121)  ได้กล่าวถึง ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ(Natural Unfoldment)  นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก  ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
ที่มา: สุรางค์ โคว้ตระกูล.(2545). จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (2553). ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน 
ที่มา: ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (2553). http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561


สรุป:ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)
       นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า  ธรรมชาติคือแหล่งเรียนรู้สำคัญ  เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ  การใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอนจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี  การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก  เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็กๆ  เด็กมีสภาวะของเด็ก  ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น  การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการจัดประสบการณ์เรียนรู้ให้แก่เด็กจะต้องมีความแตกต่างไปจากการจัดให้ผู้ใหญ่  และยึดเด็กเป็นศูนย์กลางให้เสรีภาพแก่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการและความสนใจของตน  ให้เด็กได้เรียนรู้ตามธรรมชาติและเป็นไปตามธรรมชาติ  โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและความพร้อมของเด็ก
       นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือรุสโซ ฟรอเบล และเพสตาลอสซี
........ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
........1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความดีและการกระทำใด ๆ เกิดขึ้นจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (good - active)
........2.ธรรมชาติของมนุษย์มีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเอง หากได้รับเสรีภาพในการเรียนรู้ มนุษย์ก็จะสามารถพัฒนาตนเองไปตามธรรมชาติ
........3.รุสโซมีความเชื่อว่าเด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ตัวเล็ก ๆ เด็กมีสภาวะของเด็ก ซึ่งแตกต่างไปจากวัยอื่น การจัดการศึกษาให้เด็กจึงควรพิจารณาระดับอายุเป็นหลัก
........4.รุสโซเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญเด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติ คือการเรียนรู้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การเรียนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย
........5.เพสตาลอสซีมีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือ คนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผย เป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคม คล้อยตามสังคม และคนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะ ดังกล่าว
........6.เพสตาลอสซีเชื่อว่าการใช้ของจริงเป็นสื่อในการสอน จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดี
........7.ฟรอเบลเชื่อว่าควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็ก อายุ 3 – 5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
........8.ฟรอเบลเชื่อว่าการเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก

แหล่งอ้างอิง


ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (2553). http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
สุรางค์ โคว้ตระกูล.(2545). จิตวิทยาการศึกษา.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Dr. During. (2553). http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html?m=1. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561



วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

13. เทคนิควิธีการสอน

เทคนิควิธีการสอน👪
1. วิธีสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)
2.  วิธีการสอนโดยใช้การแสดงละคร (Dramatization
3.  วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ  (Role Playing)
4. วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง  (Case)
5. วิธีการสอนโดยใช้เกม  (Game)
6. วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง  (Simulation)
7. วิธีการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
8.  วิธีการสอนแบบค้นพบความรู้
9.  วิธีการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne’s Instructional Model)
10. การสอนแบบปฏิบัติการ
11. การสอนโดยใช้โสตทัศนูปกรณ์
12. การสอนแบบให้ผู้เรียนเสนอรายงานในชั้นเรียน
13. การสอนโดยใช้คำถาม
14. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก  ( graphic  organizers )
15. การสอนแบบโครงการ (The Project Approach)
16. การสอนแบบมอนเตสซอรี่
17. การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน
18. นวัตกรรมกระบวนการกลุ่มแบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
19. การเรียนการสอนแบบบูรณาการ
20. วิธีสอนแบบขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจสี่  (ดรสาโรช บัวศรี)
21. การจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ (Experiential Learning )
          ที่มา: https://sites.google.com/site/acadedmsu/xeksar-fay-wichakar. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561



🙋เทคนิคการสอนแบบต่างๆ สำหรับครูมืออาชีพ
1. การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย (Lecture Method)
2. การจัดการเรียนรู้แบบอภิปราย (Discussion Method)
3. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
4. การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต (Demonstration Method)
5. การจัดการเรียนรู้แบบแสดงบทบาทสมมติ (Role Playing) 
6. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
7. การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation) 
8. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)
9. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)
10.การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
11.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค (Team Games Tournament)
12.การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ (Jigsaw)
13.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integration)
14.การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline (Storyline)
15.การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
         ที่มา: https://blog.eduzones.com/moobo/132517. (2557). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561

💪54 รูปแบบการสอนสำหรับผู้สอนมืออาชีพ💥
1. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)
2. วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
3. วิธีสอนแบบโครงงาน(Project Method)
4. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
5. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
6. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive  Method)
7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction  Method)
8. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา
9. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล
10. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ
11. การค้นหารูปแบบ (Pattern  Seeking)
12. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry  Process)
13. วิธีสอนแบบอุปนัย (Inductive Method)
14. วิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive Method)
15. วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
16. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน
17. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)
18. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
19. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method)
20. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
21. วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)
22. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method)
23. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)
24. วิธีสอนตามคาดหวัง (Expectation Method)
25. วิธีสอนแบบโซเครติส (Socretis Method) 
26. วิธีสอนแบบประสาทสัมผัส ( Method of Sense Realism)
27. วิธีสอนด้วยสิ่งของหรือวัตถุ
28. วิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart Method)
29. วิธีสอนแบบกิจกรรม (Self-Activity Method)
29. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
30. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดยสาโรช บัวศรี
31. วิธีสอนแบบโครงการ (Project Method)
32. วิธีสอนแบบดัลตัน (Dalton Laboratory Plan)
33. วิธีสอนแบบวินเนทก้า (The Winnetka Plan)
34. วิธีสอนแบบนิเทศ (Supervised Plan)
35. วิธีสอนแบบใช้ครูพี่เลี้ยง (Tutorial Method)
36. วิธีสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ  (Audio-Visual Meterial of Instruction Method)
37. วิธีสอนแบบทีม (Team Teaching Method)
38. วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method)
39. วิธีสอนแบบอริยสัจ 
40. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มระดมพลังสมอง
41. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)
42. วิธีสอนแบบสาธิต
43. วิธีการสอนแบบทดลอง
44. การสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction) 
45. การสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
46. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ แอล.ที. ( L.T )
47. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. )
48. การเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. ( STAD )
49. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw )
50. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
51. การสอนแบบเอกัตภาพ ( Individualized Instruction )
52. การสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา (Content – Based Instruction)
53. การสอนแบบวิธีธรรมชาติ ( Natural Method )
54. การสอนแบบชุมชนเป็นฐาน
           ที่มา: https://www.google.co.th/url?รูปแบบการสอนสำหรับผู้สอนมืออาชีพ. (2559). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561

👨สรุปรวบรวมเทคนิควิธีการสอนทั้งหมด 72 รูปแบบ👩
1. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)
2. วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา
3. วิธีสอนแบบโครงงาน(Project Method)
4. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
5. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
6. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive  Method)
7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction  Method)
8. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการแก้ปัญหา
9. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการให้เหตุผล
10. การพัฒนาทักษะ/กระบวนการสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ
11. การค้นหารูปแบบ (Pattern  Seeking)
12. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry  Process)
13. วิธีสอนแบบอุปนัย (Inductive Method)
14. วิธีสอนแบบนิรนัย (Deductive Method)
15. วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
16. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน
17. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)
18. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
19. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method)
20. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
21. วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)
22. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method)
23. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)
24. วิธีสอนตามคาดหวัง (Expectation Method)
25. วิธีสอนแบบโซเครติส (Socretis Method) 
26. วิธีสอนแบบประสาทสัมผัส ( Method of Sense Realism)
27. วิธีสอนด้วยสิ่งของหรือวัตถุ
28. วิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart Method)
29. วิธีสอนแบบกิจกรรม (Self-Activity Method)
29. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
30. กระบวนการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 โดยสาโรช บัวศรี
31. วิธีสอนแบบโครงการ (Project Method)
32. วิธีสอนแบบดัลตัน (Dalton Laboratory Plan)
33. วิธีสอนแบบวินเนทก้า (The Winnetka Plan)
34. วิธีสอนแบบนิเทศ (Supervised Plan)
35. วิธีสอนแบบใช้ครูพี่เลี้ยง (Tutorial Method)
36. วิธีสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ  (Audio-Visual Meterial of Instruction Method)
37. วิธีสอนแบบทีม (Team Teaching Method)
38. วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method)
39. วิธีสอนแบบอริยสัจ 
40. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มระดมพลังสมอง
41. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)
42. วิธีสอนแบบสาธิต
43. วิธีการสอนแบบทดลอง
44. การสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction) 
45. การสอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
46. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ แอล.ที. ( L.T )
47. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. )
48. การเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. ( STAD )
49. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw )
50. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
51. การสอนแบบเอกัตภาพ ( Individualized Instruction )
52. การสอนภาษาโดยใช้เนื้อหาเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ภาษา (Content – Based Instruction)
53. การสอนแบบวิธีธรรมชาติ ( Natural Method )
54. การสอนแบบชุมชนเป็นฐาน
55. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion)
56. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การแสดงละคร (Dramatization)
57. การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง (Simulation) 
58. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (Game)
59. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ (Process)
60. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม (Group Process)
61. การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค (Team Games Tournament)
62. การจัดการเรียนรู้แบบ Storyline (Storyline)
63. วิธีการสอนมโนทัศน์ (Concept Attainment Model)
64. วิธีการสอนแบบค้นพบความรู้
65. วิธีการสอนตามแนวคิดของกานเย (Gagne’s Instructional Model)
66. การสอนแบบปฏิบัติการ
67. การสอนแบบให้ผู้เรียนเสนอรายงานในชั้นเรียน
68. เทคนิคการใช้ผังกราฟิก  ( graphic  organizers )
69. การสอนแบบมอนเตสซอรี่
70. นวัตกรรมกระบวนการกลุ่มแบบประเมินผลการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
71. วิธีสอนแบบขั้นทั้ง 4 ของอริยสัจสี่   (ดรสาโรช บัวศรี)
72. การจัดการเรียนการสอนแบบประสบการณ์ (Experiential Learning )

แหล่งอ้างอิง
     https://sites.google.com/site/acadedmsu/xeksar-fay-wichakar. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561
     https://blog.eduzones.com/moobo/132517. (2557). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561
     https://www.google.co.th/url?รูปแบบการสอนสำหรับผู้สอนมืออาชีพ. (2559). [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561

3. ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

⟴⟴⟴⟴⟴⟴⟴⟴⟴⟴⟴⟴⟴⟴⟴⟴

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

Dr. During. (2553). ได้รวบรวมข้อมูลไว้ว่านักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ จอห์น ล็อค (John Locke) วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt) ทิชเชเนอร์ (Titchener) และแฮร์บาร์ต (Herbart) ซึ่งมีความเชื่อดังนี้(Bigge,1964 : 33 – 47 อ้างถึงในทิศนา แขมมณี 2550 : 48 – 80)
.........ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
........1.มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)
........2.จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
........3.วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือการสัมผัสทั้ง 5 (sensation) แลการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
........4.ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จินตนาการ (imagination) คือการคิดวิเคราะห์
.......5. แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sens activity) ขั้นจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ (conceptual thinking or understanding) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสั่งสมประสบการณ์หรือความรู้เหล่านี้ไว้ การเรียนรู้นี้จะขยายขอบเขตออกไปเรื่อย ๆ เมื่อบุคคลได้รับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น โดยผ่านกระบวนการเชื่อมโยงและการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เดิมเข้าด้วยกัน ( apperception)
........6.แฮร์บาร์ตเชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ๆ
ที่มา: Dr. During. (2553). http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html?m=1. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561

สยุมพร  ศรีมุงคุณ (https://www.gotoknow.org/posts/341272)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception)ไว้ว่า  การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม(neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก(feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
     ที่มา: สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2554). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561

พรหมมา วิหกไพบูลย์ (http://learntheory58.blogspot.com/2015/06/blog-post.html) ผู้รวบรวม ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก (feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
ที่มา: พรหมมา วิหคไพบูลย์. (2558). http://learntheory58.blogspot.com/2015/06/blog-post.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่5 กรกฎาคม 2561


สรุป:ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)
          นักคิดคนสำคัญในกลุ่มนี้คือ จอห์น ล็อค (John Locke) วิลเฮล์ม วุนด์ (Wilhelm Wundt) ทิชเชเนอร์ (Titchener) และแฮร์บาร์ต (Herbart) ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด(Apperception) นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)  การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation)  และความรู้สึก (feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีความเชื่อดังนี้
          .........ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้
........1.มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive)
........2.จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
........3.วุนด์ เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือการสัมผัสทั้ง 5 (sensation) แลการรู้สึก (feeling) คือการตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส
........4.ทิชเชเนอร์มีความเห็นเช่นเดียวกับวุนด์ แต่ได้เพิ่มส่วนประกอบของจิตอีก 1 ส่วน ได้แก่ จินตนาการ (imagination) คือการคิดวิเคราะห์
.......5. แฮร์บาร์ต เชื่อว่าการเรียนรู้มี 3 ระดับคือขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส (sens activity) ขั้นจำความคิดเดิม (memory characterized) และขั้นเกิดความคิดรวบยอดและเข้าใจ (conceptual thinking or understanding)
........6.แฮร์บาร์ตเชื่อว่าการสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอความรู้ใหม่ ต่อไปควรจะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ จนได้ข้อสรุปที่ต้องการแล้วจึงให้ผู้เรียนนำข้อสรุปที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับปัญหาหรือสถานการณ์ใหม่ๆ

แหล่งอ้างอิง
   พรหมมา วิหคไพบูลย์. (2558). http://learntheory58.blogspot.com/2015/06/blog-post.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่5 กรกฎาคม 2561
    สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2554). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561


Dr. During. (2553). http://surinx.blogspot.com/2010/08/2550-40-107-3-1-2-3-20-3-20-4-2550-45.html?m=1. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561



4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤


ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)
     ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
1. พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3. แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
พฤติกรรมของมนุษย์นักจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป 
ที่มา: https://hongyokyok.wordpress.com. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561

          ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้ ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์ คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้

- สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง
- สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US ) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ
- สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือ สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว
- การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditioned Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ
- การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned Response หรือ CR) คือ การตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มีอยู่ 3 ประการ อันเกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ
- การแผ่ขยาย (Generalization) คือ ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มี ความหมายคล้ายคลึงกันได้
- การจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
- การลบพฤติกรรมชั่วคราว (Extinction) คือ การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการ ที่ไม่ได้รับสิ่งเร้า ที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Spontaneous recovery) หลังจากเกิด การลบพฤติกรรม ชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีก เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข              ที่มา: https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (2553). ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี – ไม่เลว  การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก  พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response)  การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ  พฤติกรรม มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
ที่มาณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (2553). http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561


สรุป:ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) 
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง  คือ  ไม่ดี – ไม่เลว ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์ (Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)
ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
1. พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3. แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้

แหล่งอ้างอิง
     ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (2553). http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
     https://hongyokyok.wordpress.com. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
     https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561