➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽➽
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)
มัณฑรา
ธรรมบุศน์. (2559). ได้กล่าวถึงทฤษฎีมนุษยนิยมไว้ว่า
ทฤษฎีมนุษยนิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ
แต่ก็จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น
กลุ่มทฤษฎีมนุษยนิยมเป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์
นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง มีอารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ
การเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีนี้เชื่อว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียน
การจัดการเรียนการสอนจึงมุ่งให้เกิดการเรียนรู้ทั้งด้านความเข้าใจ
ทักษะและเจตคติไปพร้อม ๆ กันโดยให้ความสำคัญกับความรู้สึกนึกคิด ค่านิยม
การแสดงออกตลอดจนการเลือกเรียนตามความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
บรรยากาศในการเรียนเป็น
แบบร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขันกันอาจารย์ผู้สอนทำหน้าที่ช่วยเหลือให้กำลังใจและอำนวยความสะดวกในขบวนการเรียนของผู้เรียนโดยการจัดมวลประสบการณ์
เอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎีมนุษย์นิยม คือ
1) มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2) ความต้องการความปลอดภัย
3) ความต้องการความรักและเป็นเจ้าของ
4) ความต้องการที่จะเป็นที่ยอมรับและ
ได้รับการยกย่อง
5) ความต้องการที่จะตระหนักในความสามารถของตนเองหรือรู้จักตนเอง
6) ความต้องการที่จะรู้และที่จะเข้าใจ
7) ความต้องการทางด้านสุนทรียะ
โดยมาสโลว์ได้อธิบายว่า
เมื่อความต้องการในขั้นหนึ่งที่ต่ำกว่าได้รับการตอบสนอง
มนุษย์ก็จะมีความต้องการในขั้นต่อไป
ซึ่งความต้องการที่ได้รับการตอบสนองในแต่ละขั้นนั้นไม่จำเป็นต้องได้รับเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ก่อนจึงจะมีความต้องการในขั้นต่อไปที่สูงขึ้น
การประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
1. ครูควรให้ความเข้าใจผู้เรียน
ควรเป็นคนใจกว้าง ไม่ยึดติดกับความคิด หรือความเชื่อของตนเอง
ควรรับฟังผู้เรียนให้มากขึ้น
2. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
มีการแบ่งหน้าที่ให้ผู้เรียนแต่ละคนให้มีบทบาทในชั้นเรียนเท่าๆ กัน
3. ควรจัดการเรียนตามสภาพจริง
หรือสภาพที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล
4. ควรจัดการเรียนรู้โดยไม่ยึดติดกับเงื่อนไขหรือข้อจำกัดทางวัฒนธรรมของสังคม
5. ควรจัดการเรียนรู้ตามความต้องการหรือความต้องการของผู้เรียน
6. ควรจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าชีวิต
และสิ่งต่างๆ ล้วนเป็นสิ่งมีค่า
ให้ผู้เรียนเห็นค่าในตนเองและเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์
ที่มา: มัณฑรา
ธรรมบุศน์. (2559).
https://sites.google.com/site/psychologybkf1/home/citwithya-kar-reiyn-ru/thvsdi-kar-reiyn-ru-klum-mnusy-niym.
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. ได้รวบรวมข้อมูลและกล่าวว่า นักคิดกลุ่มมนุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิด คือ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ
ด้วยตนเอง
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม
คาร์ล อาร์ โรเจอร์ กล่าวว่า กลุ่มมนุษยนิยมคือ
1. เชื่อว่ามนุษย์ คือ สัตว์โลกประเภทหนึ่ง มีจิตใจ มีความต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเข้าใจ และมีความสามารถเฉพาะตัว
2. เชื่อว่ามนุษย์เราทุกคนต่างก็พยายามจะรู้จักและเข้าใจตนเองและยอมรับในสมรรถวิสัยของตนเอง
3. เชื่อว่ามนุษย์ต่างก็เข้าใจผู้อื่นและยอมรับตนเองอยู่แล้ว ต่างคนก็มุ่งสร้างความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ให้แก่ตนเอง
ที่มา: ณัชชากัญญ์
วิรัตนชัยวรรณ. http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 5/กรกฎาคม/ 2561
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2554). ได้รวบรวมข้อมูลไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism) นักคิดกลุ่มมานุษยนิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์และมองมนุษย์ว่ามีคุณค่า
มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และมีแรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน
หากบุคคลมีอิสระภาพและเสรีภาพ
มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิด คือ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ
มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น
และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเข้าถึงความต้องการพื้นฐานของผู้เรียน
และตอบสนองความต้องการพื้นฐานนั้นอย่างพอเพียง ให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ มีการจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ซึ่งช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตามสภาพความเป็นจริง
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ
มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ
การจัดบรรยากาศที่ผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนเรียนรู้และเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและการเรียนรู้จะเน้นกระบวนการเป็นสำคัญ
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการเรียนรู้กระบวนการเป็นสำคัญ
ควรจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย
ครูควรสอนแบบชี้แนะโดยให้ผู้เรียนเป็นผู้นำทางในการเรียนรู้ของตนและคอยช่วยเหลือผู้เรียนให้เรียนอย่างสะดวกจนบรรลุผล
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้จึงเน้นถึงความรู้สึกของผู้เรียนเป็นหลัก
การสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วยตนเอง
หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกสิ่งที่เรียนและวิธีเรียนด้วยตนเอง
ลงมือกระทำและยอมรับผลของการตัดสินใจหรือการกระทำของตนเอง
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า
ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ
ด้วยตนเอง หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน
การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ
โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่ หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้เน้นการจัดการศึกษาต่อเนื่องไปตลอดชีวิตไปตามธรรมชาติ
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล
เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ
หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก
มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม
หลักการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ คือ
การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียน
จัดให้เรียนเมื่อพร้อมจะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ
ที่มา: สยุมพร
ศรีมุงคุณ. (2554). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
สรุป:ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม(Humanism)
ทฤษฎีมนุษยนิยมมีวิวัฒนาการมาจากทฤษฎีกลุ่มที่เน้นการพัฒนาตามธรรมชาติ
แต่ก็จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือเป็นกระบวนการมากยิ่งขึ้น
กลุ่มทฤษฎีมนุษยนิยมเป็นทฤษฎีที่คัดค้านการทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์แล้วมาใช้อ้างอิงกับมนุษย์และปฏิเสธที่จะใช้คนเป็นเครื่องทดลองแทนสัตว์
นักทฤษฎีในกลุ่มนี้เห็นว่ามนุษย์มีความคิด มีสมอง มีอารมณ์และอิสรภาพในการกระทำ
หลักการหรือความเชื่อของทฤษฎีมนุษย์นิยม คือ
1) มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2) ความต้องการความปลอดภัย
3) ความต้องการความรักและเป็นเจ้าของ
4) ความต้องการที่จะเป็นที่ยอมรับและ ได้รับการยกย่อง
5) ความต้องการที่จะตระหนักในความสามารถของตนเองหรือรู้จักตนเอง
6) ความต้องการที่จะรู้และที่จะเข้าใจ
7) ความต้องการทางด้านสุนทรียะ
ทฤษฏีและแนวคิดที่สำคัญๆ ในกลุ่มนี้มี 2 ทฤษฏีและ 5 แนวคิด คือ
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น
และต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
- ทฤษฎีการเรียนรู้ของรอเจอร์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ มนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ดีหากอยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายและเป็นอิสระ
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์ เชื่อว่าความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์ เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
มีอิสระที่จะเรียนและได้รับการส่งเสริมในการพัฒนาด้วย
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์ เชื่อว่าผู้เรียนต้องถูกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูที่สอนแบบเก่า
ผู้เรียนมีศักยภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะกระทำสิ่งต่างๆ
ด้วยตนเอง
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช เชื่อว่าสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียน
การศึกษาควรเป็นการศึกษาตลอดชีวิตแบบเป็นไปตามธรรมชาติ
โดยให้โอกาสในการศึกษาเล่าเรียนแก่บุคคลอย่างเต็มที่
- แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล
เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติ
หากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้อมที่อบอุ่น บริบูรณ์ด้วยความรัก
มีอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม
แหล่งอ้างอิง
แหล่งอ้างอิง
มัณฑรา ธรรมบุศน์. (2559). https://sites.google.com/site/psychologybkf1/home/citwithya-kar-reiyn-ru/thvsdi-kar-reiyn-ru-klum-mnusy-niym. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 5/กรกฎาคม/ 2561
สยุมพร ศรีมุงคุณ. (2554). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น