➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤➤
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(Behaviorism)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ
การตอบสนอง (Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ
การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง
ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์
(Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)
ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
1. พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3. แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
พฤติกรรมของมนุษย์นักจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น
2
ประเภท คือ
พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent
Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น
ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant
Behavior) เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา
โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป
ที่มา: https://hongyokyok.wordpress.com.
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง
(Response) โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ
การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง
ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์
(Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning)ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้ คือ พาฟลอฟ
ซึ่งเป็นนักสรีระวิทยาชาวรัสเซีย เขาได้ทำการศึกษาทดลองกับสุนัขให้
ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงใน ห้องทดลอง
ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3
ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข (Before Conditioning) ระหว่างการวางเงื่อนไข (During Conditioning) และ
หลังการวางเงื่อนไข (After Conditioning) อาจกล่าวได้ว่า
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค คือ การตอบสนอง ที่เป็นโดยอัตโนมัติเมื่อนำ
สิ่งเร้าใหม่มาควบคุมกับสิ่งเร้าเดิม เรียกว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ (Respondent
Behavior) พฤติกรรมการเรียนรู้นี้เกิดขึ้นได้ทั้งกับมนุษย์และสัตว์
คำที่พาฟลอฟใช้อธิบายการทดลองของเขานั้น ประกอบด้วยคำสำคัญ ดังนี้
- สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือ สิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง
- สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned
Stimulus หรือ US ) คือ
สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ
- สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned
Stimulus หรือ CS) คือ
สิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อนไขแล้ว
- การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข
(Unconditioned Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ
- การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned
Response หรือ CR) คือ
การตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว
กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟ มีอยู่ 3 ประการ
อันเกิดจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ
- การแผ่ขยาย (Generalization) คือ ความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มี
ความหมายคล้ายคลึงกันได้
- การจำแนก (Discrimination) คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้
- การลบพฤติกรรมชั่วคราว (Extinction) คือ การที่พฤติกรรมตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องมาจากการ
ที่ไม่ได้รับสิ่งเร้า ที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข
การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข (Spontaneous recovery) หลังจากเกิด การลบพฤติกรรม ชั่วคราวแล้ว
สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีก
เมื่อได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข ที่มา: https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm.
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
ณัชชากัญญ์
วิรัตนชัยวรรณ (2553). ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี – ไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus
response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ พฤติกรรม
มากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้
ที่มา: ณัชชากัญญ์
วิรัตนชัยวรรณ. (2553). http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486.
[ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
สรุป:ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดี – ไม่เลว ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยมเน้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดยอาศัย
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า (Stimulas) และ การตอบสนอง (Response)
โดยอินทรีย์จะต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและ
การตอบสนองอันนำไปสู่ ความสามารถในการแสดงพฤติกรรม คือการเรียนรู้นั่นเอง
ผู้นำที่สำคัญของ กลุ่มนี้ คือ พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) ธอร์นไดร์
(Edward Thorndike) และสกินเนอร์ (B.F.Skinner)
ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
1. พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
2. พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3. แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
แหล่งอ้างอิง
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (2553). http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
https://hongyokyok.wordpress.com. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
แหล่งอ้างอิง
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (2553). http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
https://hongyokyok.wordpress.com. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
https://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Behavioral_Learning_Theories.htm. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 5/กรกฎาคม/2561
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น